Bookmark and Share Add to Favorites

แก่นตะวัน ทำงานอย่างไร..

 ในหัวของแก่นตะวัน มีสารที่สำคัญคือ อินนูลิน ( Inulin ) เป็นน้ำตาลเชิงซ้อน คือ
มีโมเลกุลของน้ำตาลต่อกันเป็นห่วงโซ่มากกว่า 10 โมเลกุล ลักษณะเช่นนี้จะทำให้
มันกลายเป็นอาหารที่มีสารเส้นใยสูง แถมในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กของเรา
ไม่มีเอมไซม์ย่อยน้ำตาลในอินนูลินออกมาใช้ จึงเท่ากับว่าแก่นตะวันจะเดินทางผ่าน
กระเพาะและลำไส้เล็กของเราไปเฉย ๆ แก่นตะวันจึงแทบจะไม่มีแคลอรีแต่อย่างใด

แก่นตะวันจึงเหลือไปถึงลำไส้ใหญ่ แล้วกลายเป็นอาหารของแบคทีเรียที่นั่น

ทีนี้แบคทีเรียในลำไส้ของเรา มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีประโยชน์ เช่น บิฟิโดแบคทีเรีย 
แลคโตบาซิลไล และกลุ่มที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น อีโคไล ซูโดโมแนส คลอสตริเดียม เป็นต้น 
อินนูลิน จะเป็นอาหารเฉพาะของแบคทีเรียกลุ่มที่มีประโยชน์เท่านั้น

เมื่อแก่นตะวันเดินทางไปถึงลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียอย่างบิฟิโดแบคทีเรียก็จะได้อาหารมากกว่าเดิม 
แล้วแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้น แย่งพื้นที่ของแบคทีเรียกลุ่มที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้แบคทีเรีย
ซึ่งทำให้เกิดแก๊สกลิ่นเหม็นลดลง แบคทีเรียที่กินซากเนื้อสัตว์แล้วสร้างสารก่อมะเร็งของลำไส้ใหญ
อย่างอีโคไล ฯลฯ ก็ลดจำนวนลง ดังนั้นแก่นตะวันจึงทำให้สุขภาพของลำไส้ใหญ่ดีขึ้น

ผลก็คือ อุจจาระมีกากมากขึ้น ทำให้ถ่ายสะดวก แก้อาการท้องผูก ทำให้กลิ่นเหม็นของอุจจาระไม่มี และจะช่วยป้องกันมะเร็งของลำไส้ใหญ่

เนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยแก่นตะวันไปใช้ได้ แก่นตะวันจึงเป็นสารเส้นใยอย่างเดียว 
ไม่ให้แคลอรี กินแล้วไม่อ้วน สารเส้นใยทำให้อยู่ท้อง กินได้น้อย จึงช่วยลดน้ำหนักตัวได้ 
มีงานวิจัยในหนูพบว่า หากให้หนูกินอาหารผสมอินนูลินนาน 3 สัปดาห์ น้ำหนักตัวจะน้อยกว่าหนูปกติถึง 30 %

และเพราะความเป็นสารเส้นใยของแก่นตะวัน มันจะช่วยซับน้ำมันและน้ำตาลที่เราอาจจะกินล้นเกิน
ออกทิ้งทางอุจจาระ จึงสามารถป้องกันไขมันในเลือดสู

 

 

 
บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน